Friday, September 19, 2008

การบำบัดด้วยความหอม

ปัจจุบันนี้ มนุษย์หันมาสนใจดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจมากยิ่งขึ้น และมีกระแสความนิยมในการกลับสู่ธรรมชาติมากขึ้น ดังนั้น สุวคนธบำบัด หรือ Aromatherapy จึงเป็นวิธีการรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง ที่นำพืชหรือสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมมาใช้ประโยชน์ในการรักษา ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การใช้วิธีนี้มีการใช้กัน มานานแล้ว และหยุดความนิยมลงช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง

Aromatherapy คืออะไร

Aromatherapy มาจากคำว่า aroma ซึ่งหมายถึง กลิ่นหอม และ therapy หมายถึง การบำบัดรักษา ดังนั้น Aromatherapy จึงหมายถึงการบำบัดรักษาด้วยกลิ่นหอม ซึ่งกลิ่นหอม ส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำมันหอมระเหย (essential oil) สกัดได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ใบ ราก ผล เปลือกไม้ ยางไม้ หรือ เรซิน ฯลฯ

ประวัติความเป็นม

ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักนำเครื่องหอมมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ใช้ในพิธีบูชาเทพเจ้า โดยการนำยางไม้หรือเรซิน ที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ แฟรงคินเซนต์ (frankincense) มาเผาเพื่อ บูชาเทพเจ้าแห่งอาทิตย์ (Ra) และนำเมอร์ (myrrh) มาเผาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งพระจันทร์ และพบว่ามีการนำพืชหอมหลายชนิดมาใช้ในการเก็บรักษามัมมี่ เช่น อบเชย (cinnamon) เทียนข้าวเปลือก (dill seed) โหระพา (sweet basil) ลูกผักชี (coriander seed) ซึ่งพืช เหล่านี้มีน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณสมบัติ ในการฆ่าเชื้อโรคได้ดี ต่อมาชาวกรีกได้นำน้ำมันหอมระเหย มาประยุกต์ใช้ทั้งทางด้านการแพทย์ และ เครื่องสำอาง แล้วถ่ายทอดศาสตร์แห่งการใช้กลิ่นบำบัดรักษาโรค แก่ชาวโรมัน ต่อมาชาว โรมันจึงได้นำเครื่องหอมไปใช้ในชีวิตประจำวัน และในพิธีกรรม และพัฒนาหลักความรู้นี้ ผสมผสานเข้ากับศาสตร์แขนงอื่น เช่น การนวด โดยผสมเครื่องหอมลงในน้ำมันสำหรับทาตัว และนวดตัวหลังอาบน้ำ ผสมเครื่องหอม ลงในอ่างน้ำ ฯลฯ และเมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย จึงทำให้ไม่มีการใช้น้ำมันหอมระเหยอีก แต่พบ หลักฐานว่ามีการนำน้ำมันหอมระเหยมา ใช้รักษาโรค ในประเทศแถบอาหรับอริโซน่า หมอชาวอาหรับ เป็นผู้ค้นพบวิธีการกลั่น น้ำมันหอมระเหยเป็นครั้งแรก และนำหลักการนี้ไปสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศ สเปนความรู้ทางด้านน้ำมันหอมระเหยจึงได้แพร่ มาสู่ยุโรป ต่อมา เรเน มนริซ กัตฟอส (Rane Maurice Gattefosse) นักเคมีชาว ฝรั่งเศส ได้ค้นพบประสิทธิภาพของน้ำมันหอมระเหยโดยบังเอิญ โดยที่ขณะเขา ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ เกิดอุบัติเหตุไฟลวกมือ ด้วยความตกใจจึง เอามือไปปัดถูกขวดน้ำมันลาเวนเดอร์ ทำให้น้ำมันลาเวนเดอร์หกรดมือที่ถูกไฟลวกนั้น เขาได้พบว่าแผลไฟลวกที่มือนั้นหายเร็วกว่าปกติ และมีรอยแผลเป็นน้อยมาก จากนั้น เขาจึงเริ่มหันมาสนใจค้นคว้า เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่น ๆ

เพิ่มเติมทั้งประโยชน์ทางด้านการแพทย์และเครื่องสำอาง และเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่าAromatherapy เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1928 กลไกการออกฤทธิ์ น้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารประกอบหลายชนิดที่สามารถซึมผ่าน ผิวหนังเข้าไปทำปฏิกิริยาโดยตรงกับสารเคมีในร่างกาย ทำให้มีผลต่ออวัยวะหรือ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย

การออกฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย มี 3 ชนิด คือ

1. การออกฤทธิ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยน้ำมันหอมระเหยจะซึม เข้าสู่กระแสโลหิต ไปทำปฏิกิริยากับฮอร์โมนและเอนไซม์ เป็นต้น
2. การออกฤทธิ์ที่เกิดจากน้ำมันหอมระเหยไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเคมี ออกมาทำให้มีผลต่อการทำงานของร่างกาย เช่น กลิ่นแคลรีเซจ (clary sage) และกลิ่นเกรพฟรุต (grape fruit) จะทำให้สมองหลั่งสารชนิดหนึ่งเรียกว่า enkephalins ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดความเจ็บปวด เป็นต้น
3. การออกฤทธิ์ทางด้านจิตใจ โดยน้ำมันหอมระเหยมีอิทธิพลต่อจิตใจเรามานาน คือ เมื่อสูดดมกลิ่นหอมเข้าไปก็จะมีปฏิกิริยากับกลิ่น นั้น ๆ แล้วแสดงออกในรูป ของอารมณ์หรือความรู้สึก ผลของกลิ่นที่มีต่อแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เพศ บุคลิก บรรยากาศรอบ ๆ ตัวขณะดมกลิ่น

นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับกลิ่นที่ไม่เท่ากันของแต่ละคน บางคนอาจได้กลิ่น ชนิดหนึ่งมาก ในขณะที่บางคนได้กลิ่นชนิดเดียวกันเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้กลิ่นเลย

ประเภทของ Aromatherapy สามารถแบ่งตามการนำไปใช้ ดังนี้

1. Cosmetic Aromatherapy สำหรับใช้เป็นเครื่องสำอาง โดยใช้น้ำมัน หอมระเหยที่อยู่ในรูปของครีมบำรุงผิว โทนเนอร์ แชมพู ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผิวหน้า หรืออาจเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหยในการอาบน้ำ โดยหยดน้ำมันหอม ระเหยประมาณ 6-8 หยด ลงในอ่างแช่ตัวประมาณ 20 นาที ความร้อนจากน้ำอุ่น จะช่วยเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังและ ได้สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในขณะเดียวกัน

2. Massage Aromatherapy สำหรับ การนวด โดยนำน้ำมันหอมระเหยมา ใช้ในการนวด วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะเป็นการใช้ น้ำมันหอมระเหย ประกอบกับการนวดสัมผัส ทำให้ น้ำมันหอมระเหยซึมผ่านผิวหนังได้ดี ปกติการนวด อย่างเดียวทำให้รู้สึกสบาย เมื่อได้ผสมผสานกับ คุณสมบัติพิเศษของน้ำมันหอมระเหย ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การนวดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. Olfactory Aromatherapy เป็นการ สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหย โดยไม่มีการสัมผัสผ่านผิวหนัง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การสูดดมน้ำมันหอมระเหยโดย ตรง (inhalation) และการผสมน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำร้อนแล้วสูดไอของน้ำมันหอม ระเหยนั้น (vaporization) ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบางและผู้ที่เป็นหืดหอบ หรืออาจจะใช้เตาหอม (arona lamp) ลักษณะเป็นภาชนะดินเผาหรือเซรามิก ด้านบน เป็นแอ่ง เล็ก ๆ สำหรับใส่น้ำและมีช่องเล็ก ๆ สำหรับใส่เทียนเพื่อให้ความร้อน เวลาใช้ ให้หยดน้ำมันหอมระเหยลงในน้ำ และความร้อนจะช่วยส่งกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยให้กระจายไปทั่วห้อง

ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหย

ในการใช้น้ำมันหอมระเหย ควรศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียดก่อน เพราะถึงแม้ว่า วิธีการใช้ง่ายแต่ก็มีข้อมูลอีกหลายอย่างที่ควรทราบและพึงระวัง ดังนี้

1. ควรเจือจางน้ำมันหอมระเหยด้วย carrier oil ก่อนใช้ เนื่องจากน้ำมัน หอมระเหยที่เข้มข้นอาจทำให้ระคายเคืองได้ และไม่ควรให้น้ำมันหอมระเหยสัมผัส บริเวณรอบดวงตาและผิวที่อ่อนบาง
2. ก่อนใช้น้ำมันหอมระเหย ควรทดสอบก่อนว่าเกิดอาการแพ้หรือไม่
3. น้ำมันหอมระเหยบางชนิดเหนี่ยวนำให้ ผิวหนังมีความไวต่อแสง (photosensitive) เช่น น้ำมันมะกรูด น้ำมันมะนาว ฯลฯ ดังนั้นจึงควร หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดย ตรงภายหลังจากการ ใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
4. สตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหย ต่อไปนี้ คือ น้ำมันโหระพา น้ำมันกานพลู น้ำมันเปปเปอร์มินต์ น้ำมันกุหลาบ น้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันแคลรี่เซจ (clary sage oil) น้ำมันไทม์ (thyme oil) น้ำมันวินเทอร์กรีน (winter green oil) น้ำมันมาร์โจแรม (marjoram oil) และเมอร์ (myrrh)
5. ผู้ที่เป็นโรคลมชัก และผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันโรสแมรี่ น้ำมันเซจ (sage oil)
6. ควรเก็บน้ำมันหอมระเหยในขวดที่มีสี เข้ม ในที่ปลอดภัยห่างจากมือเด็กและเปลวไฟ
7. ไม่ควรรับประทานน้ำมันหอมระเหย นอกจากได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเหมาะสมกับอายุด้วย

ดังนั้นจึงขอเสนอตัวอย่างน้ำมันหอมระเหย ที่ใช้ในปัจจุบัน คือ น้ำมันลาเวนเดอร์ (lavender oil) สกัดได้จากดอกลาเวนเดอร์ (Lavendula officinalis chaix) น้ำมันมีกลิ่นหอมสดชื่น ทำให้สงบและผ่อนคลาย นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติในการรักษาอาการปวดศีรษะ เมื่อใช้ร่วมกับการนวดจะทำให้กล้ามเนื้อ ผ่อนคลายและช่วยให้หลับสบาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งน้ำมันยูคาลิปตัส (eucalyptus oil) ได้จากใบของยูคาลิปตัส (Eucalyptus globulus labill.) มีกลิ่นหอมสดชื่น ช่วยให้หายใจโล่ง รักษาอาการหวัด คัดจมูก ทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง และมีสมาธิ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการกำจัดแบคทีเรีย เมื่อใช้ร่วมกับการนวด จะช่วยให้สดชื่น ฟื้นฟูสมรรถภาพของ ร่างกาย ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีผิวธรรมดาถึงผิวมัน

ดังนั้นจึงพบว่า Aromatherapy เป็นวิธีการ บำบัดรักษาทางธรรมชาติวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นจึงมีผู้นำน้ำมัน หอมระเหยมาใช้ประโยชน์ในการรักษาสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยผ่านการศึกษา ค้นคว้ามาแล้วหลายช่วงเวลา สั่งสมให้คุณค่าความรู้ทางด้าน Aromatherapy มีสูง มากยิ่งขึ้น โดยได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อที่จะได้นำผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มาสนับสนุนข้อมูลที่มีมาแต่เดิม และเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการใช้ผลิตภัณฑ์ Aromatherapy ในการนำมาบำบัดรักษามากยิ่งขึ้น

No comments: