Monday, June 30, 2008

ค้นพบวิธีใหม่ในรักษาผมร่วง

ถ้าคุณผู้ชายรู้สึกว่าขณะนี้ คุณสามารถมองเห็นหนังศีรษะของตนเองได้มากเกินไป แล้วละก็ ให้พึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า คุณไม่ใช่ผู้ชายคนเดียวเท่านั้นที่มีความรู้สึกเช่นนี้ เพราะจากรายงานของ American Academy of Dermatology ของสหรัฐ ระบุว่า 2 ใน 3 ของผู้ชายในสหรัฐ มีโอกาศที่จะศีรษะล้าน ขณะเดียวกันวิธีการรักษาผมร่วง ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา หรือการผ่าตัดที่เรียกว่า Hair Transplantationก็ก้าวขึ้นมาเป็นความหวังของผู้ที่ตกอยู่ใน ภาวะดังกล่าว Neil Sadick แพทย์และอาจารย์ ของหน่วย Dematology แห่ง Cornell University Medical College กล่าวว่า อาการผมร่วมของผู้ชายส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ที่เรียกว่า Androgenic Alopecia โดยคนกลุ่มนี้จะมีระดับของฮอร์โมนที่เรียกว่า 5(Alpha)-Reductase เพิ่มมากขึ้น จากนั้นจะฮอร์โมนดังกล่าวจะไปเปลี่ยน Testosterone ให้เป็น Dihydrotesterone หรือ DHT ซึ่ง DHT นี้ เป็นสาเหตุทำให้รากผม ผลิตเส้นผมที่ที่ขึ้นมาใหม่ให้บางและ สั้นลง จนกระทั่งรากผลนั้นตายไป ไม่สร้างเส้นผมขึ้นมาอีกในที่สุด

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิจัยต่างก็พยายามหาวิธีทางหยุดยั้ง กระบวนการที่ทำให้ศีรษะล้านเหล่านี้ โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี ๑๙๙๙ วารสารการแพทย์ Journal of Clinical Investigation รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์แห่ง Weil MedicalCollege of Cornell University ประสบความสำเร็จ ในการกระตุ้นรากผม ด้วยการนำไวรัสไข้หวัด มาดัดแปลงให้กลายเป็นตัวนำยีนที่เรียกว่า Sonic Hedgehog ซึ่งเป็นยีนที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของรากผม

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองกับหนูทดลองเท่านั้น และอย่างน้อย ก็เรียกได้ว่า สัมฤทธิ์ผลให้หนู แต่การที่จะนำมาใช้ในการรักษาผู้มีปัญหาศีรษะล้านจริง ๆ นั้น จะต้องมีการทำลอง และศึกษาผลมากกว่านี้

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ ได้เปิดเผยขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๙๙ โดยงานชิ้นนี้ ระบุว่า การปลูกรากผมและเส้นผม สามารถทำได้ด้วยการนำเซลรากผมจากผู้บริจาคมาใช้

รากผม นับว่าเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของร่างการที่มีลักษณะพิเศษ เรียกว่าเป็น Immunoprivileged ซึ่งได้รับการปกป้องจาก Immune System ดังนั้นร่างกายจะไม่แสดงอาการต่อต้านรากผม จากผู้อื่นเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอม จากทฤษฎีดังกล่าวนี้ ทำให้นักวิจัยจึงคิดว่า เป็นไปได้ ที่จะนำเอารากผมจากบุคคลผู้หนึ่งมาปลูกถ่ายให้กับอีกบุคคลหนึ่ง โดยร่างกายของผู้รับการปลูกถ่าย ไม่แสดงปฏิกริยาต่อต้าน เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น นักวิทยาศาสตร์ชาย ได้เสียสละเซลรากขน ในส่วนแขนของตนเอง ไปปลูกถ่ายไว้บนแขนของนักวิทยาศาสตร์หญิง ซึ่งปรากฏว่า หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ แขนของนักวิทยาศาตร์หญิง มีขนเส้นใหญ่ และดกดำขึ้นมา ไม่เหมือนกับเส้นขนของตัวเธอเอง โดยเส้นขนดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่ ณ บริเวณที่แขนถูกปลูกถ่าย

สำหรับการปลูกถ่ายผมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น เซลที่ใช้จะเป็นเซลจากส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง ซึ่งก็จะเป็นเซลรากผมจากส่วนของหนังศีรษะที่ยังมีผมปกคลุมอยู่ นั่นหมายถึงว่า ผู้รับการปลูกถ่าย ไม่ได้มีผมมากขึ้น เพียงแต่ทำให้เส้นผมขึ้นกระจาย ปกคลุม พื้นที่ออกไปให้ทั่ว ส่วนจะสามารถปลูกถ่ายได้กินบริเวณมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนรากผม ที่ยังเหลืออยู่ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง

Peter B. Cserhalmi-Friedman หนึ่งในคณะแพทย์ทางด้านโรคผิวหนังของ College of Physicians and Surgeons แห่ง Columbia University กล่าวว่า ถ้าเทคนิคในการปลูกถ่ายเซลรากผมนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่เรียกว่าเป็น Viable Technique แล้วก็จะ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนรากผมที่จะถูกสร้างขึ้นใหม่อีกต่อไป เพราะผู้รับการปลูกถ่าย ไม่จำเป็นต้องสละรากผมออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของหนังศีรษะ ดังนั้น จากเดิมที่เทคนิคนี้จะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้รับการปลูกถ่าย มีเส้นผมเหลือบนหนังศีรษะมากพอ จะก้าวขึ้นไปถึงขั้นที่เทคนิคดังกล่าว สามารถใช้ได้แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่เหลือเส้นผมอยู่บนหนังศีรษะเลย

แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์กล่าวว่า อย่างเพิ่งหวังว่าจะมีใครบริจาคเซลเส้นผมให้กับคุณ เพราะ เทคนิคที่กำลังพัฒนาอยู่นี้จะต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกนานพอควร อย่างน้อยก็อีกนานเป็นสิบปี

สำหรับการรักษาอาการศีรษะล้านในปัจจุบันนั้น FDA ได้อนุญาติให้มีการใช้ยา ที่ทำให้มีการสร้างเส้นผม ซึ่งจะใช้ได้ผลดี ก็ต่อเมื่อรากผมของผู้ใช้ยานั้นยังไม่ตายไป อีกทั้งยังต้องมีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เหมาะสมอีกหลายข้อ เพื่อให้ยาได้ผลดี

ยกตัวอย่างยา Finasteride ซึ่งจำหน่ายภายใต้ชื่อ Propecia นั้น เป็นยาที่ต้องรับประทานทุกวัน ซึ่งยาตัวนี้ ได้มีการศึกษาและรายงานผลใน New England Journal of Medicine เมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๙๙ ว่า หลังจากผู้ใช้ยาจำนวน ๒ ใน ๓ ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๒ ปี ปรากฏว่า มีผมปกคลุมพื้นที่หนังศีรษะเพิ่มมากขึ้น เส้นผมยาว และหนาขึ้น มีชายจำนวนน้อยเท่านั้น ที่ใช้ยานี้แล้วไม่ได้ผล ส่วน Side Effect นั้น ยังไม่ปรากฏให้เห็นในช่วงระยะเวลาที่ทำการทดสอบ

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานยานั้น ก็มียา Minoxidil ที่จำหน่ายภายใต้ชื่อ Rogaine เป็นยาที่ต้องใช้ทาหนังศีรษะวันละ ๒ ครั้ง แต่จะใช้ได้ผลดี กับผู้ที่ยังศีรษะล้านไม่มากนัก ส่วนผลข้างเคียงนั้นอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังเห็นว่า แม้จะมีวิธีการรักษาอาการศีรษะล้านอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่น่าจะได้ผลดีที่สุด น่าจะเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายเซลรากผมนั่นเอง

ที่มา: thaiclinic.com

ปัญหาผมร่วง

เส้นผม แต่ละเส้นงอกมาจากเซลล์ในชั้นหนังแท้ เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ผลิตเส้นผม ซึ่งเมื่อแบ่งตัวมากขึ้น จะดันเซลล์เหล่านี้ขึ้นไปทางข้างบนจนอยู่เหนือผิวหนัง เซลล์ผมที่ถูกผลักขึ้นมาเรื่อยๆ จะค่อยๆ ตาย ขณะเดียวกันก็ผลิตสารเคอราตินพอกพูนขึ้น สารเคอราตินเรียงตัวเป็นเส้นขนาน เมื่อถูกผลักให้สูงขึ้นๆ จะมีการเรียงตัวแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นแกนกลาง ชั้นนอก และชั้นผิวนอกสุด

ชั้นแกนกลางมีเซลล์รูปร่างกลม ระหว่างเซลล์มีช่องอากาศแทรกอยู่ ทำให้แลดูคล้ายฟองน้ำ ส่วนชั้นนอกมีเซลล์รูปร่างกระสวยซึ่งเป็นเซลล์ตายที่เต็มไปด้วยเคอราติน ชั้นนอกเป็นชั้นที่แสดงลักษณะของผม ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนนุ่ม สีสันและความอวบอ้วนหรือความผอมของผม ส่วนชั้นผิวนอกสุดเป็นชั้นที่ประกอบด้วยเซลล์ตายทับซ้อนกัน 7 ชั้น แต่ละเซลล์เต็มไปด้วยสารเคอราตินใสๆ ส่วนชั้นผิวนอกสุดมีลักษณะคล้ายเกล็ดปลาผายออก ช่วยทำให้การดึงผมหลุดออกมาได้ยาก เส้นผมส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมามีแต่เซลล์ตายที่เต็มไปด้วยสารเคอราติน ส่วนของเม็ดสีที่ทำให้ปรากฏเป็นสีของเส้นผมนั้นอยู่ที่ส่วนชั้นแกนกลาง เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายหยุดสร้างสารเม็ดสี ก็จะทำให้ผมเริ่มหงอก
เส้นผม เปรียบเสมือนแขนขาของผิวหนังเส้นผม และขนในแต่ละส่วนของร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คนเรามีขนหลายชนิด ภาษาไทยเรียกขนบนหัวว่า "ผม" แต่ขนที่บริเวณอื่น จะเรียกว่า "ขน" ส่วนภาษาอังกฤษเรียกว่า "hair" หมดทุกที่ หน้าที่หลักของเส้นผม คือ ป้องกันผิวหนังหรือศีรษะไม่ให้เสียความร้อนมากเกินไป ปกติหนังศีรษะของคนเรามีเลือดมาเลี้ยงมาก และทำหน้าที่ควบคุมการกระจายความร้อนของร่างกาย

การเจริญเติบโตของเส้นผม

เส้นผมแต่ละเส้นมีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะเจริญงอกงาม ระยะหยุดงอก และระยะพักเส้นผมบนหนังศีรษะยาวประมาณเดือนละ 1 เซ็นติเมตร โดยระยะเจริญงอกงาม จะมีระยะเวลายาวนานประมาณ 3 ปี หรืออาจถึง 7 ปี เช่นในเด็ก โดยเฉลี่ยเส้นผมใช้เวลาในการเจริญเติบโตทั้งสิ้น 5 ปี เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ระยะเจริญงอกงามนี้จะสั้นลงๆ คนที่ไม่ตัดผมเลยตลอดชีวิต จะมีผมยาวประมาณ 36
เซ็นติเมตร

เมื่อสิ้นสุดระยะเจริญงอกงาม ก็จะเข้าสู่ระยะหยุดงอก ในระยะนี้เซลล์ในชั้นหนังแท้จะแยกออกมา ทำให้เส้นผมขาดอาหารมาเลี้ยง ระยะนี้พบว่าต่อมผมจะหดเล็กลง และหยุดทำงานนานประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะพัก ซึ่งกินเวลาประมาณ 3 เดือน เส้นผมเส้นนั้นจึงหลุดร่วงไป เส้นผมเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่

ในมนุษย์ร้อยละ 90 ของเส้นผมบนหนังศีรษะ เป็นเส้นผมที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในระยะเจริญงอกงาม ส่วนอีกร้อยละ 10 ที่เหลือจะอยู่ในระยะพัก สำหรับสัตว์ส่วนใหญ่มีขนเป็นขนเส้นหนาที่เริ่มงอกพร้อมกัน แล้วงอกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงฤดูกาลที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผมร่วงพร้อมกัน ส่วนในมนุษย์จะแตกต่างออกไป ผมบนศีรษะแต่ละเส้นมีวัฏจักรของตัวเองไม่ขึ้นต่อกัน

ชนิดของเส้นผม

1. ขนเส้นหนา เป็นขนที่มีลักษณะหนาและทำให้แลดูดีบนศีรษะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ขนเทอร์มินัล" นอกจากจะพบที่ศีรษะแล้ว อาจจะพบได้ที่หัวหน่าว รักแร้ หน้าอก ขนเส้นหนาเป็นเส้นผมชนิดที่จะมีปัญหาเมื่อขาดไป ทำให้เกิดภาวะผมบาง หรือหัวล้าน
2. ขนอ่อน มักพบตามหน้า ตามลำตัว และแขนขาของเด็กและผู้หญิง
3. ขนอุย พบตามตัวทารก มักไม่มีสี แม้ว่าขนอุยนี้จะไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก แต่เป็นต้นตอที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นขนเทอร์มินัลหรือขนอ่อนได้

ปริมาณเส้นผมบนหนังศีรษะ

บนหนังศีรษะมีเส้นผมรวมทั้งสิ้นประมาณ 120,000 เส้นผมสีบลอนด์จะมีเส้นผมมากกว่าสีอื่น โดยมีประมาณ 140,000 เส้น ผมสีเข้มมีประมาณ 105,000 เส้น ในขณะที่ผมสีแดงจะมีประมาณ 90,000 เส้น นอกจากเส้นผมบนหลังศีรษะแล้ว ทั่วร่างกายมีขนและผมรวมทั้งสิ้น 5 ล้านเส้น ในร่างกายของคนเรา ส่วนที่ไม่มีผมและขนเลย คือ ริมฝีปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทั้งนี้พบว่าในแต่ละวันเส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะไม่เกิน 100 เส้น

ปัจจัยที่ทำให้ผมร่วง

1. อายุ พบว่าเมื่ออายุมากขึ้น การเจริญเติบโตของเส้นผมจะโตช้าลง
2. พันธุกรรม ปัจจุบันพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องค่อนข้างซับซ้อนกว่าที่เคยเข้าใจกับ การแสดงออกของยีนเกิดขึ้นทั้งจากที่ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ รวมทั้งค้นพบว่ายีนที่เกี่ยวข้องมีมากกว่า 6 ชนิด
3. ฮอร์โมนเพศชาย

ผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจน

ผมร่วงชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากพันธุกรรมผมร่วงชนิดที่เป็นผลจากฮอร์โมนเพศชาย ที่มีชื่อเรียกว่าแอนโดรเจน ทั้งนี้พบว่าระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนในร่างกายที่สูงทำให้ผมร่วง ผู้หญิงก็มีฮอร์โมนแอนโดรเจนเช่นกัน ดังนั้นทั้งผู้ชายและ ผู้หญิงจึงเกิดปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนแอนโดรเจนได้ทั้งสองเพศ

ผมร่วงจากยาเคมีบำบัด

ผมร่วงที่เป็นผลจาก การรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัดเป็นสิ่งที่พบเห็นและทราบกันดี แม้ว่าไม่ได้เกิดขึ้นกับยาเคมีบำบัดทุกชนิด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะหลีกเลี่ยงได้ยาก

นอกจากยาเคมีบำบัดยังมียาอื่นที่ทำให้ผลร่วงได้เหมือนกัน เช่น ยารักษาโรคเก๊าต์ ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต และยาโรคหัวใจบางชนิด การใช้วิตามินเอในขนาดสูงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้มาก และมักจะดีขึ้นเมื่อหยุดยาแล้ว

ผมร่วงขณะตั้งครรภ์

ในเพศหญิงขณะตั้งครรภ์ หรือผู้ที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดมาเป็นเวลานานอาจเกิดอาการผมร่วง ได้ซึ่งจะหายเป็นปกติหลังเลิกกินยาเม็ด คุมกำเนิดหรือหลังคลอดบุตรประมาณ 4-6 เดือน

ผมร่วงจากโรคภัยไข้เจ็บ

สาเหตุของผมร่วงที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่ต้องนึกถึงเสมอ โรคที่พบได้บ่อยๆ ในเวชปฏิบัติที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง ได้แก่ โรคของต่อมไทรอยด์ โรคลูปุส โรคเบาหวาน โรคติดเชื้อราที่หนังศีรษะ

อีกภาวะที่ต้องนึกถึงเสมอ คือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งพบได้ในผู้หญิงที่เสียเลือดจากการมีประจำเดือนครั้งละมากๆ ภาวะขาดโปรตีนในร่างกาย รวมทั้งโรคเรื้อรังทั้งหลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้

การรักษา

1. การรักษาผมร่วงขึ้นกับสาเหตุเป็นสำคัญ
2. การใช้ยาทา minoxidil วันละสองครั้งช่วยเพิ่มเลือดไหลเวียนไปที่บริเวณรากผมและโคนเส้นผม
3. ยาต้านฤทธิ์ฮอร์โมนแอนโดรเจนชื่อ finasteride ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและจากการศึกษาวิจัยพบว่า ได้ผลในการรักษาพอสมควร ข้อควรระวังที่สำคัญที่สุดคือยานี้ทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ ห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์อย่างเด็ดขาด
4. ในกรณีผมร่วงเป็นหย่อมๆ แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่เพื่อรักษาอาการดังกล่าว หรือพิจารณาใช้ยาแอนทราลินชนิดทา หรือทาร์ชนิดทา ช่วยในการรักษาเพิ่มเติม

ที่มา: BangkokHealth.com

Sunday, June 29, 2008

ทำไมผมร่วง

เส้นผมดีสวยงามมีบทบาทสำคัญมากประการหนึ่ง คือ ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ เสริมสร้างความมั่นใจทางสังคม การเจริญเติบโตของเส้นผมมีลักษณะเป็นวงจรจากระยะต้น งอกยาวออกประมาณวันละ 0.3 เซนติเมตร เมื่อเข้าสู่จุดที่หยุดการเจริญก็จะร่วงหลุดไป มีเส้นผมเส้นใหม่ขึ้นมาทดแทนบริเวณรากผมเดิม โดยปกติแต่ละวัน ผมบนศีรษะจะร่วงได้ไม่เกิน 100 เส้น แต่ถ้าสระผมจะร่วงมากเป็น 2 เท่า ดังนั้นเมื่อสังเกตพบว่าผมร่วง ยังไม่ต้องวิตกกังวล ให้นับจำนวนเส้นผมที่หลุดร่วงออกในแต่ละวัน ถ้าเกินกว่า 100 เส้นในวันปกติทั่วไป จะแสดงว่ามีภาวะผมร่วงมากกว่าปกติ หรือถ้าผมร่วงแหว่งหายไปเป็นหย่อม ถือว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค ผมร่วงมากผิดปกติทั่วศีรษะอาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น หลังมีไข้สูงมากจาก ไทฟอยด์ มาลาเรีย ไข้หวัดใหญ่ จากนั้น 2-3 เดือนผมร่วงมากแต่จะไม่ร่วงทั้งศีรษะ ปล่อยไว้ต่อไปจะค่อย ดีขึ้นได้เอง สำหรับผู้หญิงหลังคลอดประมาณ 3 เดือนอาจพบว่าผมร่วงมากได้ แต่จะไม่ร่วงหมด หลังจากนั้นผมก็จะขึ้นมาเหมือนเดิมได้ สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ผมร่วงได้แก่ ความเครียด การขาดอาหารหรือการใช้ยาบางชนิด นอกจากนี้ยังพบว่า กรรมพันธ์และฮอร์โมนบางชนิด มีส่วนทำให้ผมบางน้อยลงได้

ในด้านการรักษาโรคผมร่วงนั้น แพทย์จะพยายามซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุให้ได้ ก่อนที่จะให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป