Monday, June 30, 2008

ค้นพบวิธีใหม่ในรักษาผมร่วง

ถ้าคุณผู้ชายรู้สึกว่าขณะนี้ คุณสามารถมองเห็นหนังศีรษะของตนเองได้มากเกินไป แล้วละก็ ให้พึงระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า คุณไม่ใช่ผู้ชายคนเดียวเท่านั้นที่มีความรู้สึกเช่นนี้ เพราะจากรายงานของ American Academy of Dermatology ของสหรัฐ ระบุว่า 2 ใน 3 ของผู้ชายในสหรัฐ มีโอกาศที่จะศีรษะล้าน ขณะเดียวกันวิธีการรักษาผมร่วง ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา หรือการผ่าตัดที่เรียกว่า Hair Transplantationก็ก้าวขึ้นมาเป็นความหวังของผู้ที่ตกอยู่ใน ภาวะดังกล่าว Neil Sadick แพทย์และอาจารย์ ของหน่วย Dematology แห่ง Cornell University Medical College กล่าวว่า อาการผมร่วมของผู้ชายส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ที่เรียกว่า Androgenic Alopecia โดยคนกลุ่มนี้จะมีระดับของฮอร์โมนที่เรียกว่า 5(Alpha)-Reductase เพิ่มมากขึ้น จากนั้นจะฮอร์โมนดังกล่าวจะไปเปลี่ยน Testosterone ให้เป็น Dihydrotesterone หรือ DHT ซึ่ง DHT นี้ เป็นสาเหตุทำให้รากผม ผลิตเส้นผมที่ที่ขึ้นมาใหม่ให้บางและ สั้นลง จนกระทั่งรากผลนั้นตายไป ไม่สร้างเส้นผมขึ้นมาอีกในที่สุด

อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิจัยต่างก็พยายามหาวิธีทางหยุดยั้ง กระบวนการที่ทำให้ศีรษะล้านเหล่านี้ โดยเมื่อเดือนตุลาคม ปี ๑๙๙๙ วารสารการแพทย์ Journal of Clinical Investigation รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์แห่ง Weil MedicalCollege of Cornell University ประสบความสำเร็จ ในการกระตุ้นรากผม ด้วยการนำไวรัสไข้หวัด มาดัดแปลงให้กลายเป็นตัวนำยีนที่เรียกว่า Sonic Hedgehog ซึ่งเป็นยีนที่มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการของรากผม

อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองกับหนูทดลองเท่านั้น และอย่างน้อย ก็เรียกได้ว่า สัมฤทธิ์ผลให้หนู แต่การที่จะนำมาใช้ในการรักษาผู้มีปัญหาศีรษะล้านจริง ๆ นั้น จะต้องมีการทำลอง และศึกษาผลมากกว่านี้

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ ได้เปิดเผยขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี ๑๙๙๙ โดยงานชิ้นนี้ ระบุว่า การปลูกรากผมและเส้นผม สามารถทำได้ด้วยการนำเซลรากผมจากผู้บริจาคมาใช้

รากผม นับว่าเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของร่างการที่มีลักษณะพิเศษ เรียกว่าเป็น Immunoprivileged ซึ่งได้รับการปกป้องจาก Immune System ดังนั้นร่างกายจะไม่แสดงอาการต่อต้านรากผม จากผู้อื่นเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอม จากทฤษฎีดังกล่าวนี้ ทำให้นักวิจัยจึงคิดว่า เป็นไปได้ ที่จะนำเอารากผมจากบุคคลผู้หนึ่งมาปลูกถ่ายให้กับอีกบุคคลหนึ่ง โดยร่างกายของผู้รับการปลูกถ่าย ไม่แสดงปฏิกริยาต่อต้าน เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น นักวิทยาศาสตร์ชาย ได้เสียสละเซลรากขน ในส่วนแขนของตนเอง ไปปลูกถ่ายไว้บนแขนของนักวิทยาศาสตร์หญิง ซึ่งปรากฏว่า หลังจากนั้นสองสามสัปดาห์ แขนของนักวิทยาศาตร์หญิง มีขนเส้นใหญ่ และดกดำขึ้นมา ไม่เหมือนกับเส้นขนของตัวเธอเอง โดยเส้นขนดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่ ณ บริเวณที่แขนถูกปลูกถ่าย

สำหรับการปลูกถ่ายผมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น เซลที่ใช้จะเป็นเซลจากส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง ซึ่งก็จะเป็นเซลรากผมจากส่วนของหนังศีรษะที่ยังมีผมปกคลุมอยู่ นั่นหมายถึงว่า ผู้รับการปลูกถ่าย ไม่ได้มีผมมากขึ้น เพียงแต่ทำให้เส้นผมขึ้นกระจาย ปกคลุม พื้นที่ออกไปให้ทั่ว ส่วนจะสามารถปลูกถ่ายได้กินบริเวณมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนรากผม ที่ยังเหลืออยู่ของผู้รับการปลูกถ่ายเอง

Peter B. Cserhalmi-Friedman หนึ่งในคณะแพทย์ทางด้านโรคผิวหนังของ College of Physicians and Surgeons แห่ง Columbia University กล่าวว่า ถ้าเทคนิคในการปลูกถ่ายเซลรากผมนี้พัฒนาไปถึงขั้นที่เรียกว่าเป็น Viable Technique แล้วก็จะ ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนรากผมที่จะถูกสร้างขึ้นใหม่อีกต่อไป เพราะผู้รับการปลูกถ่าย ไม่จำเป็นต้องสละรากผมออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของหนังศีรษะ ดังนั้น จากเดิมที่เทคนิคนี้จะใช้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้รับการปลูกถ่าย มีเส้นผมเหลือบนหนังศีรษะมากพอ จะก้าวขึ้นไปถึงขั้นที่เทคนิคดังกล่าว สามารถใช้ได้แม้กระทั่งกับผู้ที่ไม่เหลือเส้นผมอยู่บนหนังศีรษะเลย

แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์กล่าวว่า อย่างเพิ่งหวังว่าจะมีใครบริจาคเซลเส้นผมให้กับคุณ เพราะ เทคนิคที่กำลังพัฒนาอยู่นี้จะต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกนานพอควร อย่างน้อยก็อีกนานเป็นสิบปี

สำหรับการรักษาอาการศีรษะล้านในปัจจุบันนั้น FDA ได้อนุญาติให้มีการใช้ยา ที่ทำให้มีการสร้างเส้นผม ซึ่งจะใช้ได้ผลดี ก็ต่อเมื่อรากผมของผู้ใช้ยานั้นยังไม่ตายไป อีกทั้งยังต้องมีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เหมาะสมอีกหลายข้อ เพื่อให้ยาได้ผลดี

ยกตัวอย่างยา Finasteride ซึ่งจำหน่ายภายใต้ชื่อ Propecia นั้น เป็นยาที่ต้องรับประทานทุกวัน ซึ่งยาตัวนี้ ได้มีการศึกษาและรายงานผลใน New England Journal of Medicine เมื่อเดือนกันยายน ปี ๑๙๙๙ ว่า หลังจากผู้ใช้ยาจำนวน ๒ ใน ๓ ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา ๒ ปี ปรากฏว่า มีผมปกคลุมพื้นที่หนังศีรษะเพิ่มมากขึ้น เส้นผมยาว และหนาขึ้น มีชายจำนวนน้อยเท่านั้น ที่ใช้ยานี้แล้วไม่ได้ผล ส่วน Side Effect นั้น ยังไม่ปรากฏให้เห็นในช่วงระยะเวลาที่ทำการทดสอบ

สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับประทานยานั้น ก็มียา Minoxidil ที่จำหน่ายภายใต้ชื่อ Rogaine เป็นยาที่ต้องใช้ทาหนังศีรษะวันละ ๒ ครั้ง แต่จะใช้ได้ผลดี กับผู้ที่ยังศีรษะล้านไม่มากนัก ส่วนผลข้างเคียงนั้นอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการระคายเคืองหนังศีรษะ

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังเห็นว่า แม้จะมีวิธีการรักษาอาการศีรษะล้านอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่น่าจะได้ผลดีที่สุด น่าจะเป็นการผ่าตัดปลูกถ่ายเซลรากผมนั่นเอง

ที่มา: thaiclinic.com

No comments: